โรงแรมวาสิฏฐี ซิตี้โฮเทล ถนนเณรแก้ว ตําบลท่าพี่เลี้ยง อําเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี นายนวนิตย์ พลเคน ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขต 3 เป็นประธานเปิดงานประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงการตลาดร่วมกันระหว่าง เกษตรกรผู้ผลิต และผู้ประกอบการสมุนไพร โครงการเมืองสมุนไพรสุพรรณบุรี โดยมี นายวันชัย นิลวงศ์ เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี พร้อมทั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตสุพรรณบุรี , มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ศูนย์การศึกษาทวารวดี โรงพยาบาลอู่ทอง และกลุ่มผู้ปลูกพืชสมุนไพร เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ทางด้าน นายวันชัย นิลวงศ์ เกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี กล่าวว่า ตามที่จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ดําเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตพืชสมุนไพร ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดที่ต้องการให้เป็นเมืองสมุนไพรเพื่อส่งเสริมการใช้ ประโยชน์จากสมุนไพรอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กระบวนการปลูกสมุนไพรให้มีคุณภาพและได้ มาตรฐานจนสามารถนําไปสู่การแปรรูป เพื่อใช้ในการผลิตเป็นยารักษาโรคตลอดจน ผลิตเพื่อเป็นพืชสมุนไพรสําหรับประกอบอาหาร ซึ่งจังหวัดสุพรรณบุรีมีผู้ประกอบการ ด้านพืชสมุนไพรด้านยารักษาโรคและ เครื่องแกง ผงปรุงอาหารสําเร็จรูป โดยจังหวัด สุพรรณบุรีได้มีการส่งเสริมพืชสมุนไพรตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 โดยมีเกษตรกร เข้าร่วมโครงการครอบคลุมทั้ง 10 อําเภอ โดยได้จัดอบรมถ่ายทอดความรู้ และ สนับสนุนปัจจัยการผลิตให้กับเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯ เรียบร้อยแล้ว และในวันนี้เป็นการจัดกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดพืช สมุนไพร เพื่อเป็นเวทีที่จะให้ผู้ปลูกสมุนไพร ได้พบปะกับผู้ประกอบการด้านสมุนไพร ของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งจะก่อให้เกิดแนวคิดและเปิดมุมมองด้านการผลิตพืชสมุนไพร ให้เป็นทางเลือกอาชีพใหม่ของเกษตรกร เป็นการพัฒนาเข้าสู่ “เมืองสมุนไพสุพรรณบุรี ต่อไป”
ทางด้าน นายนวนิตย์ พลเคน ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขต 3 กล่าวว่า การดําเนินกิจกรรมส่งเสริมการปลูกพืช สมุนไพรจังหวัดสุพรรณบุรี ภายใต้โครงการเมืองสมุนไพร สุพรรณบุรีเป็นการ ให้ความสําคัญของพืชสมุนไพร และตระหนักถึงคุณประโยชน์ของพืชสมุนไพร ตามนโยบายของรัฐบาล
ซึ่งเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งว่า จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มีการขับเคลื่อนโครงการ เมืองสมุนไพรครบทุกอําเภอ ซึ่งถือว่าได้รับการตอบรับถึงความสําเร็จตามเจตนารมณ์ ของรัฐบาล จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่าปัจจุบัน พืชสมุนไพรเป็น พืชทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรสําหรับเพิ่มรายได้ และจากนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ที่ส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรบําบัดรักษาโรค ควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน โดยมีมากว่า 50 รายการ ซึ่งบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ รวมทั้งใช้ทดแทนเพื่อลดการนําเข้ายา แผนปัจจุบันจากต่างประเทศ โดยจังหวัดสุพรรณบุรี มีโรงพยาบาลที่ผ่านมาตรฐาน GMP ผลิตยาสมุนไพร ซึ่งสามารถรองรับวัตถุดิบที่เป็นสมุนไพรได้มากกว่า 50 ชนิด
นอกจากนั้นยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่นํามาใช้ในการประกอบอาหาร เช่น ขิง ข่า ขมิ้น ตะไคร้ ใบมะกรูด ซึ่งในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี เกษตรกรสามารถปลูก สมุนไพรเหล่านี้ได้ และสามารถส่งขายให้กับผู้รับซื้อ จากตลาดค้าปลีก – ค้าส่ง บริษัท ห้าง ร้าน ที่มีอยู่ในและนอกจังหวัดสุพรรณบุรี
การประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงการตลาดร่วมกันระหว่างเกษตรกรผู้ผลิต และผู้ประกอบการสมุนไพร ในวันนี้ จึงถือได้ว่าเป็นการยกระดับและสร้างความเชื่อมั่น ในอาชีพของเกษตรกรผู้ผลิตพืชสมุนไพรได้เป็นอย่างดีและยังเป็นการสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชนด้วย
นันทชัย ศิริอรุณรัตน์ สุพรรณบุรี รายงาน