เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2566 ณ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ คุณชัยยา ห้วยหงษ์ทอง ถึงกรณี การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ว่า มีวิธีใดบ้างจากคำถาม คุณชัยยา อธิบายถึงการอนุรักษ์หมายถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน สามารถส่งต่อถึงอนุชนรุ่นหลังได้ งานหลักๆอยู่ 3 อย่างคือ 1.คืองานป้องกันหรือการอนุรักษ์นั่นเอง ป้องกันทรัพยากรไม่ให้สูญหายให้คงอยู่ตลอดไป 2.งานวิชาการ และ 3.นันทนาการ
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เน้นที่การป้องกันเป็นอันดับแรกเนื่องจากว่า ถ้าทรัพยากรเรายังคงอยู่ต่อไปการท่องเที่ยว และงานวิชาการก็จะตามมา ถ้าทรัพยากรเราไม่มีนักท่องเที่ยวก็จะหายไป เขาใหญ่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 1,500,000 คน พอมาเที่ยวเขาใหญ่เศรษฐกิจทุกอย่างก็จะขยับ ก็จะ เคลื่อนตัวได้หมด อย่างน้อยคนละ 1,000 บาท เดินทางจากกรุงเทพฯ อย่างน้อยก็ต้องมีค่าน้ำมันและค่าอาหารทำให้เศรษฐกิจข้างล่างหมุนเวียนคิดว่าน่าจะมีความสำคัญของการอนุรักษ์เป็นอันดับแรก
จากคำถามการอนุรักษ์ป่ามีวิธีใดบ้าง คุณชัยยา ห้วยหงษ์ทอง กล่าวว่าทรัพยากรบนเขาใหญ่มีทั้งป่าไม้และสัตว์ป่าที่สำคัญมีไม้พยุงกับไม้หอม ซึ่งจับผู้กระทำผิดได้ในสัปดาห์ก่อน จากการที่มีการส่งเจ้าหน้าที่ออกลาดตระเวน ทั้งหมด 30 ชุดลาดตระเวน และตระเวนเดือนละ 15 วัน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 90% ของพื้นที่โดยมี GPS ติดตามตัวเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่สามารถที่จะหลอก เราได้อันเป็นความทันสมัยของเทคโนโลยี ในปัจจุบันปัญหาทั้งสองอย่างนี้ลดลงน้อยมากแต่ก็มีเหลืออยู่บ้าง จากคำถามของการอนุรักษ์สัตว์ป่า มีการบูรณาการหรือไม่อย่างไร เช่น การทำโป่งเทียมหรือทุ่งหญ้า ได้ปฏิบัติการอะไรไปบ้าง ช่วงนี้จะมี CSR (ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร ดำเนินกิจการภายใต้หลักจริยธรรม และการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบสังคมและสิ่งเเวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร อันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน) มาทำตลอด คือการทำโป่งเทียมในกรณีช้างพลายทองคำกับพลายงาทอง ชนกันแล้วงาหักเราก็ได้มีการสำรวจ เอางาไป วิเคราะห์ดูว่ามวลกระดูกเป็น อย่างไรตอนนี้ผลยังไม่ออกมา หมอล็อต คาดว่าน่าจะเพราะมีแคลเซียมน้อยเราก็พยายามเสริมโป่งเทียมเราทำกันตลอดมี CSR มาตลอด
ซึ่งให้สัตว์มีกระดูกและฟันที่แข็งแรง เพื่อเสริมแคลเซียมและแร่ธาตุต่างๆ คุณชัยยา เล่าต่อไปว่าเมื่อเดือนธันวาคมมีช้างโขลงออกมาจำนวนมากก็เนื่องจากเป็นช่วงฤดู ผสมพันธุ์ของช้างป่า ซึ่งพอดีช้างโขลงก็ยังวนเวียนอยู่บริเวณนี้ช้างตัวผู้จึงติดตามเข้าเพื่อการผสมพันธุ์ พฤติกรรมของช้างก็คือตัวผู้ที่โตเต็มวัยจะถูกขับออกจากโขลง ซึ่งจะมีช้างแม่แปลกเป็นตัวคุมโขลงตัวผู้ที่โตเต็มวัยจะถูกขับออกจะเหลือแต่ช้างวัยรุ่นและช้างเด็ก ที่เป็นตัวผู้ แต่การผสมพันธุ์ก็ต้องสลับโขลงกันโดยไม่ผสมพันธุ์ในญาติกันเอง จึงทำให้ได้เห็นช้างจำนวนมากและคิดว่ามี ปัจจุบันมีจำนวน ไม่ต่ำกว่า 400 ตัวซึ่งจากการสังเกตจะเห็นว่าในโขลงมีช้างตัวเล็กๆจำนวนมาก จำนวนนี้เป็นยอดเฉพาะบน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในพื้นที่ 1,350,000 ไร่นี้เท่านั้น ปัญหาของเขาใหญ่หลักๆก็คือเราไม่มีเสือในพื้นที่ซึ่งเสือเป็นตัวคุมประชากรเสือสามารถกินช้างได้กินกระทิงได้เพราะไม่มีเสือทำให้ปัญหาก็คือช้างเกินขอบเขตจำกัดของพื้นที่กระทิงก็ เกิน ด้วย อนาคตปัญหานี้น่าจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นตอนนี้ กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืชกำลังหาทางแก้ปัญหานี้อยู่ว่าจะแก้ไขอย่างไรและมีโครงการที่ จะนำเสือข้ามมาจากฝั่งทับลานตอนนี้เรามีโครงการทำเส้นทางบังคับให้สัตว์เดิน (GUIDE FENCF) ทำให้สัตว์เดินให้เสือมาเองโดยธรรมชาติคาดว่าเร็วๆนี้จะข้ามมาที่เขาใหญ่ซึ่งเป็นของใหม่ที่คิดขึ้นมาเนื่องจากห่วงโซ่อาหารขาดความสมดุลย์ ส่วนสัตว์ประเภทนกนี่แทบไม่ต้องดูแลอะไรเพราะในป่ามีความสมบูรณ์อยู่แล้วเพียงป้องกันไม่ให้มีคนล่าอย่างเดียวเพียงแต่ว่าเราอย่าให้มีคนมารบกวนปัญหาคือเราจะกันนักถ่ายภาพไม่ให้ไปรบกวนสัตว์ทำให้ให้นกบางครั้งทิ้งรังซึ่งจะไม่ให้รบกวนเขามากเกินไป อย่างสัตว์ต่างๆก็ยังอยู่ในธรรมชาติปกติ จริงๆบริเวณนี้คือใจกลางป่านักท่องเที่ยวอาจจะเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเป็นเมืองที่เราไม่ให้กางเต็นท์ตามนอกบ้านเพราะ เพราะช้างเดินไปทั่วหมดบ้านหัวหน้าเองก็ยังมีหมีเข้าไปค้นหาอาหาร และมีข้อแนะนำให้กับนักท่องเที่ยวคือ เราควรจะศึกษาในเว็บไซต์ก่อนที่จะมาเที่ยวอุทยานก่อนมีการแนะนำอยู่ในเว็บไซต์ทุกอย่างถ้าเป็นไปได้ต่างชาติเวลามาท่องเที่ยวจะต้องเข้าศูนย์บริการก่อนเพราะในศูนย์บริการจะมีคำแนะนำทุกอย่างเลยก็แนะนำให้มาเขาใหญ่ก็ให้เข้าศูนย์บริการก่อนว่าข้อควรปฏิบัติมีอย่างไรบ้างตรงไหนน่าสนใจบ้าง ต่อคำถามเรื่องการจัดการทุ่งหญ้าคือ ทุ่งหญ้าเดิมคือไร่เก่าของชาวบ้านที่บุกรุกก่อนที่จะตั้งเป็นอุทยานเป็นไร่ที่ชาวบ้านบุกรุกพวกนี้หนีคดีมาทำไร่อยู่บนนี้วันนี้เราก็จึงอพยพเขาลงไป ตรงนี้จึงกลายเป็นทุ่งหญ้า ทุ่งหญ้านี้เราเรามีบริหารจัดการทุ่งหญ้าเมื่อก่อนเรามีการเผาเมื่อมี PM 2.5 เราไม่ได้เผาแล้วตอนนี้จึงเริ่มเป็นป่าต้นติ้วเป็นพืชรุกรานทำให้ธรรมชาติมันเสียไปเพราะทุ่งหญ้ามีผลต่อพืชอาหารสัตว์เช่นเก้ง กวางใช้ประโยชน์จากทุ่งหญ้ากระทิงก็ใช้ช้างก็ใช้ ถ้าไม่มีทุ่งหญ้าอาหารก็จะลดน้อยลงเราก็มีการบริหารจัดการ และได้งบจากจังหวัดมา อีกอย่างเรามีการท่องเที่ยวไนท์ซาฟารี ในเวลากลางคืนถ้าไม่มีทุ่งหญ้าเราก็จะไม่สามารถเห็นตัวสัตว์ได้ ต่อคำถามที่แก้ไขปัญหาขยะอย่างไรคือ ปัญหาขยะบนเขาใหญ่จะกองไว้ข้างนอกไม่ได้จะต้องสร้างโรงเรือนป้องกันไว้กันสัตว์มาคุ้ยและมี กรณีกวางกินถุงพลาสติกไปแล้วไม่ย่อยก็เสียชีวิต เรามีการจัดการขยะโดยเฉพาะโดยมีคอกกั้นช้างก็ยังมารื้อขยะที่นี่ด้วย จึงขอแนะนำให้นักท่องเที่ยวทิ้งขยะไว้ในที่เราจัดไว้ให้แล้วเราจะนำขยะไปทิ้งข้างล่างเมื่อช่วงเทศกาลปีใหม่เราจะมีรถ 6 ล้อจอดทิ้งไว้ให้นักท่องเที่ยวนำขยะไปใส่ถุงดำมาทิ้งบนรถ 6 ล้อ เพื่อป้องกันสัตว์ขึ้นไปกิน
ในกรณีที่นักท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้นมาบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ คุณชัยยา มีข้อแนะนำ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติมากขึ้น คือ มาตรการ 4 ม + 1 คือ1.ไม่ขับรถเร็ว 2.ไม่ให้อาหารสัตว์ 3.ไม่ทิ้งขยะ 4.ไม่ส่งเสียงดัง +1 ก็คือไม่นำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในเขตอุทยาน เราต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดทุกอย่างมีผลกระทบขยะถ้าทิ้งไม่ถูกที่ กวางจะไปกินทำให้เสียชีวิตได้ขับรถเร็วนี้สัตว์ที่ตกใจง่ายก็อาจจะวิ่งตัดหน้ารถยนต์ได้ปัญหาอีกอย่างของเขาใหญ่ก็คือเราจะมีช้างออกมาตลอด อย่าเข้าใจว่าเป็นสวนสัตว์ซึ่งบนนี้เป็นสัตว์ป่าทั้งนั้นช้างสามารถทำร้ายเราได้ ให้สังเกตพฤติกรรมเขาถ้าหูตั้งหางชี้ให้ระวังไว้ ถ้าหูแกว่งหางตกตอนนั้นเขายังอารมณ์ดีก็ยังมีความปลอดภัยอยู่เป็นข้อดีของช้างเขาใหญ่ก็คือเขาจะมีพฤติกรรมไม่ดุร้ายที่ผ่านมาประวัติการทำร้ายคนมีน้อยมาก และในท้ายสุด คุณชัยยา ได้เชิญชวนนักท่องเที่ยวเข้ามาสูดอากาศบริสุทธิ์ตัวยกตัวอย่างว่ามีบางท่านป่วยเป็นมะเร็ง และก็มาใช้ชีวิตอยู่บริเวณเขาใหญ่แต่ก็ทำให้อาการดีขึ้น คือเราเสียเงินไม่กี่บาทเราก็ได้อากาศที่บริสุทธิ์อันนี้ผมว่ามันคุ้มมาก และอีกอย่างคือทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นประเทศชาติจะได้เจริญก็ขอเชิญชวนทุกท่านมาท่องเที่ยวกันเยอะๆนะครับ
เบนซิน ประชาไทนิวส์ออนไลน์ รายงาน