เมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม 2567 นางสาวอ้วยใจ คำบุญเรือง นายอำเภอชุมแพ นายอัชชา ลื่นภูเขียว ปลัดอำเภอชุมแพ
พร้อมคณะ เดินทางมาเป็นประธานเปิดงาน โครงการแปลงนาสาธิต 15 ไร่ แบบผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ของคณะทำงานจิตอาสาจังหวัดขอนแก่น 1 ณ แปลงนาสาธิตบ้านขามป้อม หมู่ 4 ตำบลขัวเรียง อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และร่วมดำนาปลูกข้าว เพื่อรักษาไว้ซึ่งประเพณี ความสามัคคีในชุมชน
นางศรานันท์ คูโคเวค ประธานจิตอาสา และ นายประทวน สุวรรณ์ รองประธานจิตอาสา นำสมาชิกหลายจังหวัดเข้าร่วมลงแขกดำนาในครั้งนี้
นางสาวอ้วยใจ คำบุญเรือง นายอำเภอชุมแพ กล่าวว่า รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่ได้มาร่วมงานจิตอาสาในวันนี้ ขอชื่นชมคณะทำงานจิตอาสาที่ได้มาร่วมกันในวันนี้คำว่าจิตอาสา คือมีจิตใจที่พร้อมทำงาน เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เสียสละไม่ว่าจะเป็นทุนทรัพย์ แรงกาย สติปัญญา กำลังใจ เพื่อมาทำงานให้กับพี่น้องประชาชน ที่เขาประสบปัญหา ทุกข์ยาก เดือดร้อน ขณะเดียวกันก็ช่วยในเรื่องของการ พัฒนาบ้านเมืองไปด้วย ต้องชื่นชมในการมีใจเป็นจิตอาสา หายากอยู่เหมือนกันทุกวันนี้ เพราะถ้าเราย้อนไป เมื่อก่อน กับวันนี้ จะเห็นว่าสังคมมันเปลี่ยน เมื่อก่อนสังคมยังมีใจเอื้ออาทร เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ทุกวันนี้มันเริ่มจะน้อยลง คนเราทุกวันนี้เห็นค่าทางวัถถุมากกว่าจิตใจ ความเห็นแก่ตัว แก่งแย่ง แข็งขัน ต้องชื่นชมว่าที่มีคณะทำงาน คนที่มีจิตอาสามารวมตัวกัน
เพื่อทำประโยชน์ให้กับบ้านกับเมือง ก็ตรงจุดเลย อย่างข้าราชการ ดูแลผู้ตกทุกข์ได้ยาก ก็ยังดูแลไม่เพียงพอ หรือแม้แต่การใช้จ่ายงบประมาณก็ยังต้องรอเวลา ฉนั้น การมีทีมงานจิตอาสา มีชาวบ้าน ก็จะทำให้การช่วยเหลือได้รวจเร็วยิ่งขึ้น เข้าถึง ส่วนหนึ่งก็ช่วยแบ่งเบาภาระ ข้าราชการด้วย ในส่วนของกิจกรรมในวันนี้ เรื่องการดำนา เป็นแปลงนาสาธิต ก่อนหน้านี้คือตั้งใจ อย่างที่นำเรียนในตอนต้นมาอยู่ชุมแพ 7-8 เดือน แต่ได้ทำงานจริงๆแค่ 4 เดือน เพราะอีก 2 เดือนก็ไปอบรมพึ่งกลับมา ตั้งใจคุยกับท่าเกษตร เห็นน้ำเต็มทุ่ง ข้าวเขียว ไหมพี่ หากิจกรรมลงแขกดำนา จะได้ดึงวัฒนธรรมประเพณี เข้ามาในพื้นที่ เดียวจะลืม เพราะทุกวันนี้หว่านหมด ดำก็ เริ่มจะมีรถมีอะไรเข้ามา เป็นการจ้าง อยากให้มีโครงการดีๆแบบนี้ไว้ สร้างสมาชิก สร้างเครือข่าย ดึงกลับมา เพื่อเป็นกำลังสำคัญ ในชุมชนด้วย
โดย นายอุดม โนนสาย ผู้ตรวจการคณะทำงานจิตอาสาประจำจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าโครงการแปลงนาสาธิต 15 ไร่ แบบผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ปัจจุบันเกษตรกรในพื้นที่ส่วนใหญ่ได้มีการทำนาสำหรับทำการเกษตรเป็นจำนวนมากทำให้เหมาะสมกับการทำเกษตรเพื่อให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพ และปลอดสารพิษ จึงใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ข้าวหอมมะลินั้นเป็นข้าวที่ดีที่สุดของประเทศไทย และมีราคาสูงกว่าข้าวชนิดอื่นมาก โดยความต้องการข้าวหอมมะลิยังมีความต้องการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างไม่จำกัด แต่ผลผลิตที่ออกมาบางครั้งคุณภาพไม่ตรงกับความการของตลาดและมีต้นทุนการผลิตสูงมากในปัจจุบันทำให้เป็นเหตุผล การทำเกษตรแบบผสมผสานตามปรัชญาเกษตรพอเพียงจะทำให้เกษตรกรได้เรียนรู้และพัฒนาใน การทำการเกษตรให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้แก่ให้แก่เกษตรกรและเพื่อพัฒนา เกษตรกรให้มีความรู้ความสามารถยิ่งขึ้นเพื่อประกอบอาชีพและสามารถเลี้ยงครอบครัวได้
วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้การเพาะปลูกข้าวหอมมะลิของเกษตรกร ได้พัฒนาคุณภาพและเพิ่มปริมาณการผลิตและการตลาดเพื่อส่งออกข้าวหอมมะลิไทยได้กว้างขวางยิ่งขึ้นอันเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของประเทศ
นายพิษณุ ปาละสิงห์ ผู้สื่อข่าว นสพ.ประชาไทนิวส์ออนไลน์ รายงาน